Featured News
Posts List
Posts Slider
Health
-
หาวบ่อย เกิดจากสาเหตุอะไร
หาวบ่อย เกิดจากสาเหตุอะไร
หาวบ่อย หรือการหาว เป็นปฏิกิริยาที่ร่างกายมีการอ้าปากและสูดหายใจเข้าลึก ซึ่งอาจถูกกระตุ้นด้วยความเหนื่อย ความง่วง หรือเมื่อยล้า การต้องการออกซิเจนเพิ่มขึ้นของร่างกาย การหาวอาจเกิดได้จากการพูดถึงหรือการเห็นผู้อื่นหาว มีแนวคิดว่าที่มนุษย์หาวตาม ๆ กัน (contagious yawn) อาจเป็นการสื่อสารทางสังคมของมนุษย์ชนิดหนึ่ง อาการหาวมากผิดปกติคือมีการหาวมากกว่าหนึ่งครั้งในหนึ่งนาที ซึ่งอาจเกิดจากความง่วง หรืออาจถูกกระตุ้นจากโรคหรือภาวะต่างๆ ก็เป็นได้
สาเหตุและวิธีรักษาอาการหาวบ่อย
- ความง่วง เหนื่อยล้าจากการนอนหลับไม่เพียงพอ
การนอนหลับไม่เพียงพอนั้นสามารถเกิดได้จากระยะเวลาการนอนหลับที่สั้นเกินไป หรืออาจเกิดจากการนอนหลับที่ไม่มีคุณภาพ เช่น ความเครียด ความกังวล หรือภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ซึ่งทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอในขณะที่นอนหลับ อาจเป็นสาเหตุของโรคร้ายแรงอื่น ๆ ได้ในอนาคต การนอนหลับไม่เพียงพอสามารถส่งผลอื่น ๆ ต่อร่างกายได้ เช่น ไม่มีสมาธิ ตอบสนองต่อสิ่งต่าง ๆ ช้า รู้สึกอยู่ไม่สุข เซื่องซึม ไม่ต้องการทำอะไร หรือเหนื่อยเพลีย ปวดเมื่อยร่างกาย หากสงสัยว่าตนมีภาวะนี้ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อทดสอบการนอนหลับ (sleep test)
- ผลข้างเคียงจากยา เช่น กลุ่มยานอนหลับ ยาช่วยคลายกังวล ยาต้านซึมเศร้า ยาแก้ปวดบางชนิด
- การหาวมากผิดปกติยังอาจเกิดจากโรคทางกายอื่นๆ ได้ เช่น
- ภาวะเลือดออกบริเวณในหรือรอบๆ หัวใจ หรือโรคหัวใจ ซึ่งทำให้กล้ามเนื้อหัวใจได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ มักมีอาการเจ็บแน่นหน้าอก ปวดร้าวไปแขนหรือคอ หายใจไม่อิ่ม คลื่นไส้ วิงเวียน หน้ามืด
- มะเร็งหรือก้อนเนื้อในสมอง เกิดการกดเบียดทำให้เนื้อสมองได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ จึงต้องการการหาวเพื่อเพิ่มออกซิเจนให้ร่างกาย ผู้ป่วยอาจมีอาการร่วมอื่นๆ เช่น ปวดศีรษะ พฤติกรรมเปลี่ยนแปลง ชาหรืออ่อนแรงซีกใดซีกหนึ่งของร่างกาย ปัญหาด้านการมองเห็น ปัญหาด้านความจำ เป็นต้น
- โรคหลอดเลือดสมอง ทำให้เนื้อสมองได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอเช่นกัน จะมีอาการชา อ่อนแรง ใบหน้าเบี้ยว พูดไม่ชัด เดินเซ มีการมองเห็นผิดปกติ หรือวิงเวียนร่วมด้วย
- โรคลมชัก เกิดการนำกระแสประสาทผิดปกติในหลายส่วนหรือทั้งหมดของสมอง ทำให้ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ ในบางครั้งกระแสประสาทผิดปกตินี้เกิดในสมองส่วนที่ควบคุมการหาว จึงทำให้เกิดการหาวที่ผิดปกติร่วมด้วยได้
- โรคปลอกประสาทอักเสบ (multiple sclerosis) ทำให้เส้นประสาทในส่วนต่างๆ ของร่างกายเสียหาย ไม่สามารถควบคุมร่างกายบางส่วนได้ หรืออาจเกิดจากความเหนื่อยเพลียและควบคุมอุณหภูมิร่างกายไม่ได้ ซึ่งพบได้ในผู้ป่วยปลอกประสาทอักเสบ โดยผู้ป่วยมักมีอาการเหนื่อยเพลียมากผิดปกติ ชาหรือรู้สึกเหมือนเข็มทิ่มที่ลำตัว ใบหน้า แขน ขา การมองเห็นผิดปกติ วิงเวียน เดินหรือทรงตัวลำบาก เป็นต้น
- ภาวะตับวาย มักพบในรายที่อาการรุนแรงเนื่องจากจะทำให้อ่อนเพลีย มีปัญหาในการนอนหลับ ผู้ป่วยอาจมีอาการร่วมอื่นๆ เช่น เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน ถ่ายเหลว สับสน รู้สึกง่วงมากในช่วงกลางวัน บวมตามลำตัวหรือแขน ขา
- ภาวะร่างกายไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิได้ นักวิทยาศาสตร์พบว่าการหาวเป็นวิธีหนึ่งที่ร่างกายใช้เพื่อควบคุมอุณหภูมิ หากร่างกายไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิของร่างกายได้ เช่น มีโรคประจำตัวบางชนิด การใช้ยาบางชนิด ในผู้สูงอายุ อาจเกิดการหาวผิดปกติเพื่อเป็นการช่วยในการควบคุมอุณหภูมิกายอีกวิธีหนึ่ง
การสังเกตตนเองและปรึกษาแพทย์เฉพาะทางสามารถช่วยวินิจฉัยและรักษาภาวะทางกายต่างๆ เหล่านี้ได้
วิธีแก้ไขอาการหาวบ่อยเบื้องต้นด้วยตนเอง
- หายใจลึกๆ จะช่วยเพิ่มออกซิเจนในร่างกาย สามารถลดการหาวได้ในผู้ที่การหาวเกิดจากร่างกายต้องการออกซิเจน หรือในกรณีหาวติดต่อกับผู้อื่น (contagious yawn)
- เคลื่อนไหว ขยับร่างกาย การเคลื่อนไหวร่างกายสามารถกระตุ้นระบบประสาทและสมองได้ สามารถลดการหาวในผู้ที่การหาวเกิดจากความเหนื่อยล้า เบื่อ หรือความเครียดได้
- เพิ่มความเย็นในร่างกาย เช่น การเดินไปยังบริเวณที่อากาศเย็นและถ่ายเท ดื่มน้ำเย็น หรือกินอาหารว่างเย็นๆ เช่น ผลไม้แช่เย็น
ควรพบและปรึกษาแพทย์เมื่อมีการหาวบ่อยมากกว่าปกติและมีอาการอื่นที่รบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน หรืออาการทางกายที่ผิดปกติอื่นๆ
การรักษาอาการหาวบ่อย
- การหาวที่เกิดจากการพักผ่อนไม่เพียงพอหรือความเหนื่อยล้า สามารถใช้วิตามินเสริมช่วยลดความเหนื่อยล้าได้ ในผู้ที่ขาดวิตามิน
- การหาวผิดปกติที่เกิดจากปัญหาด้านการนอน แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับอาจแนะนำแนวทางเพื่อการนอนหลับที่ดีขึ้น เช่น การเข้านอนเป็นเวลาเดิมในทุก ๆ คืน การใช้อุปกรณ์ช่วยการหายใจขณะนอนหลับ การออกกำลังเพื่อลดความเครียด หรือการใช้ยาในรายที่จำเป็น เป็นต้น
- การหาวผิดปกติที่เกิดจากยา แพทย์จะพิจารณาลดขนาดยาลงหรือหยุดยาที่ไม่จำเป็น อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยไม่ควรปรับหรือหยุดยาด้วยตนเอง
- การหาวที่เกิดจากโรคทางกายอื่น ๆ เมื่อได้รับการวินิจฉัยแล้ว แพทย์จะแนะนำการรักษาที่ตัวโรค ซึ่งจะทำให้อาการหาวผิดปกติดีขึ้นได้
หาวบ่อย เป็นสัญญาณบอก 10 โรคนี้
1. โรคนอนไม่หลับ
อย่างที่บอกว่าอาการหาวจะเกิดขึ้นเพื่อปลุกให้เราสดชื่น ตื่นตัวมากกว่าที่เป็นอยู่ ดังนั้นข้อสันนิษฐานแรกอาจเดาว่าอาการหาวบ่อย ๆ เป็นเพราะอาการนอนไม่หลับก่อน แต่ทั้งนี้ก็ต้องสังเกตพฤติกรรมการนอนหลับของตัวเองร่วมด้วยนะคะ ว่าเรานอนไม่หลับจริงไหม เช่น มักจะสะดุ้งตื่นกลางดึกบ่อย ๆ รู้สึกเพลีย และง่วงนอนตอนกลางวัน โดยไม่มีอาการป่วยอื่น ๆ ร่วมด้วย
2. โรคลมหลับ (Narcolepsy)
โรคลมหลับเป็นโรคที่มีอาการง่วงนอนตลอดเวลา และผู้ป่วยมักจะมีภาวะหลับกลางอากาศแม้กระทั่งทำกิจกรรมอื่น ๆ อยู่ โดยสาเหตุของโรคนี้แพทย์สันนิษฐานกันว่าอาจมีความผิดปกติที่สมองควบคุมการหลับและตื่น ซึ่งก่อนจะเดาว่าอาการหาวบ่อยของเราส่อถึงโรคนี้ ก็อยากให้เช็กอาการของโรคลมหลับก่อน เช่น นอนเท่าไรก็ไม่พอ รู้สึกง่วงนอนตลอดเวลา มีอาการง่วงนอนพร้อมกับภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรง (แขน, ขา) ขณะกำลังจะตื่น หรือเห็นภาพลวงตาช่วงใกล้จะหลับ (ภาวะผีอำ)
3. นอนกรน
แม้ภาวะนี้จะไม่ใช่โรค แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ากระทบกับสุขภาพการนอนหลับของร่างกายมากเลยทีเดียวค่ะ เพราะคนที่นอนกรนมักจะไม่ได้รับการพักผ่อนที่เพียงพอ หรือเรียกง่าย ๆ ว่านอนหลับไม่สนิทนั่นเอง ดังนั้นจึงมักจะรู้สึกอ่อนเพลีย ง่วงนอนบ่อย ๆ จนต้องแสดงอาการหาวบ่อย ๆ ไปด้วย ทว่าอาการนอนกรนสามารถรักษาให้หายได้นะคะ ดังนั้นใครรู้ตัวว่านอนกรนจนบั่นทอนสุขภาพอยู่ตอนนี้ ก็รีบเข้ารับการรักษาอาการนอนกรนกันดีกว่า
4. โรคอ่อนเพลียเรื้อรัง
โรคอ่อนเพลียเรื้อรังเกิดจากความผิดปกติของกลไกในร่างกาย ซึ่งยังหาสาเหตุที่ชัดเจนไม่ได้ว่าโรคนี้เกิดจากอะไรกันแน่ ทว่าที่เราจะเห็นได้ชัดคืออาการของผู้ป่วยโรคอ่อนเพลียเรื้อรัง ที่จะมีอาการเหนื่อยล้า อ่อนแรง ปวดเมื่อยตามเนื้อตัว อีกทั้งมักจะมีอาการนอนไม่หลับในตอนกลางคืน ทำให้ตื่นเช้ามาไม่สดชื่น และง่วงในช่วงกลางวันจนต้องหาวบ่อย ๆ ได้
5. โรคอ้วน
คนอ้วนมักจะมีความไม่คล่องตัวสูง การเคลื่อนไหวร่างกายจะทำได้ช้ากว่าปกติ และโดยส่วนมากก็ไม่ค่อยจะอยากเคลื่อนไหวร่างกายกันสักเท่าไรด้วย ดังนั้นแน่นอนว่าความเบื่อ ความง่วง อาการเพลียมักจะเกิดขึ้นกับคนอ้วนได้มากว่าคนที่มีน้ำหนักตัวตามเกณฑ์มาตรฐาน นำมาซึ่งอาการหาวบ่อย ๆ ตามมาได้ ที่สำคัญภาวะน้ำหนักเกินยังเป็นสาเหตุของโรคไม่ติดต่อเรื้อรังหลายชนิด ทั้งโรคเบาหวาน ความดัน และโรคหัวใจด้วยนะคะ
6. โรคลมชัก
โรคลมชัก เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของเซลล์สมองบริเวณผิวสมอง โดยกระแสไฟฟ้าในสมองเกิดอาการลัดวงจร หรือทำงานผิดปกติไป ส่งผลให้มีความผิดปกติทางระบบประสาทจนผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ ซึ่งอาการหาวบ่อยก็เป็นหนึ่งในความผิดปกติของผู้ป่วยโรคลมชักเช่นกัน แต่ทั้งนี้ก็ควรให้แพทย์ทำการวินิจฉัยว่าเราป่วยโรคลมชักหรือไม่อีกทีนะคะ เพราะจริง ๆ แล้วโรคลมชักมีความซับซ้อนของอาการแสดงอยู่พอสมควร ดังนั้นจึงควรได้รับการตรวจโดยแพทย์อย่างละเอียดอีกที ซึ่งเราก็จะได้รู้วิธีดูแลรักษาตัวเองให้หายจากอาการป่วยด้วย
7. เนื้องอกในสมอง
อาการหาวบ่อยในบางกรณีเกิดจากความผิดปกติของสมองและระบบประสาท อย่างโรคเนื้องอกในสมองก็เช่นกันค่ะ โดยผลการวิจัยจากวารสาร Neurosurgery and Psychiatry พบว่า ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของเนื้อเยื่อสมองมักจะมีอาการหาวบ่อย ดูเซื่องซึม ซึ่งเขาก็สันนิษฐานกันว่าอาจเกิดจากระบบประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนไหวถูกกดทับ ทำให้เลือดส่งออกซิเจนมาเลี้ยงสมองได้อย่างลำบาก จนร่างกายต้องรับออกซิเจนเพิ่มด้วยการหาวบ่อย ๆ นั่นเอง
8. โรคปลอกประสาทอักเสบชนิด MS
โรคปลอกประสาทอักเสบชนิด MS (multiplesclerosis) เกิดจากเม็ดเลือดขาวในต่อมน้ำเหลืองถูกกระตุ้นจากสารบางชนิดให้เข้าไปทำลายปลอกประสาทในสมอง ซึ่งตัวปลอกประสาทของสมองนั้นมีหน้าที่ส่งต่อกระแสประสาทให้เกิดการเชื่อมต่อได้อย่างรวดเร็ว ทว่าเมื่อเกิดการอักเสบที่ปลอกประสาทแล้ว การนำกระแสประสาทในร่างกายก็จะทำงานได้ช้าลง ส่งผลให้เกิดเป็นอาการผิดปกติต่าง ๆ และหนึ่งในนั้นก็คืออาการหาวบ่อยจนผิดสังเกตนี่แหละค่ะ
9. ตับวาย
อาการหาวบ่อยจะพบในผู้ป่วยโรคตับวายในระยะที่อาการเริ่มรุนแรงแล้ว เนื่องจากผู้ป่วยโรคนี้จะมีอาการอ่อนเพลีย นอนไม่ค่อยหลับ จึงเกิดอาการหาวบ่อย ๆ ได้ ซึ่งจะว่าไปแล้วอาการหาวบ่อยในผู้ป่วยตับวาย ก็ไม่ถือว่าอันตราย และยังอาจเป็นวิธีช่วยทำให้ผู้ป่วยรู้สึกสดชื่นขึ้นได้ด้วยนะคะ
10. กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน
อาการนี้อันตรายและต้องสังเกตให้ดีค่ะ เพราะหากมีอาการหาวบ่อยผิดปกติร่วมกับรู้สึกเจ็บหน้าอก หายใจได้สั้นลง ตัวซีด ตัวเขียว ให้รีบพาผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลโดยด่วน เพราะอาจเป็นสัญญาณของโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ทำให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจได้ไม่สะดวกจนเกิดความผิดปกติและอาจอันตรายถึงชีวิตได้
โดยนอกจากอาการหาวบ่อยจะบอกโรคดังกล่าวได้แล้ว ภาวะหาวบ่อยยังอาจเกิดจากประเด็นเหล่านี้
- ภาวะเครียด สมองล้า อ่อนเพลีย
สำหรับคนที่มักจะหาวบ่อยในช่วงบ่าย ๆ เย็น ๆ ใกล้เวลาเลิกงาน และยังคงมีอาการหาวต่อเนื่องไปจนถึงหัวค่ำ ทั้ง ๆ ที่ก็ไม่ได้รู้สึกง่วงนอน อาการหาวบ่อยที่เป็นอยู่อาจแสดงถึงความเครียด ความอ่อนล้าของสมองจากการทำงานมาตลอดทั้งวัน โดยเฉพาะมนุษย์เงินเดือนที่นั่งทำงานนาน ๆ ไม่ค่อยได้เคลื่อนไหวร่างกาย การอยู่ในอิริยาบถเดิม ๆ แบบนี้จะทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตทำงานไม่สะดวก สมองก็จะได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ ส่งผลให้ร่างกายต้องเปิดปากหาวเพื่อรับออกซิเจนเพิ่มเติม
- ผลข้างเคียงจากยา
โดยเฉพาะยาในกลุ่มที่ใช้รักษาอาการทางจิตเวช เช่น ยาต้านเศร้า ยารักษาอาการวิตกกังวล อาจมีผลข้างเคียงให้ผู้ป่วยง่วงซึมท้งวัน และเกิดอาการหาวบ่อย ๆ ให้เห็นได้ หรือยากลุ่มรักษาอาการภูมิแพ้ (ยาแก้แพ้) บางชนิดก็ก่อให้เกิดอาการง่วงหนักมากได้เช่นกัน
- หาวบ่อยเพราะอาหาร
อาหารประเภทแป้งและน้ำตาลเป็นตัวการที่ทำให้ร่างกายง่วงซึม ซึ่งในที่นี้หมายถึงการกินน้ำตาลและแป้งในปริมาณที่มากจนเกินไปนะคะ เนื่องจากเมื่อเรากินอาหารประเภทนี้เข้าไปมาก ตับอ่อนก็จะส่งอินซูลินออกมาเพื่อย่อยน้ำตาลเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ก่อให้เกิดอาการง่วงงุนตามมา
วิธีแก้อาการหาวบ่อย
- ดื่มน้ำเปล่าเพื่อเพิ่มออกซิเจนให้เลือดอีกทาง และการดื่มน้ำเปล่ายังจะปลุกความสดชื่นให้ร่างกายด้วย
- เคลื่อนไหวร่างกายให้บ่อยขึ้น โดยเฉพาะตอนที่หาว ให้ลุกไปเดินเล่น เปลี่ยนบรรยากาศให้ตัวเองสักหน่อย
- สูดหายใจเข้าลึก ๆ บางทีความเผอเรออาจทำให้เราหายใจไม่เต็มปอดได้ ส่งผลให้ร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ ดังนั้นสูดลมหายใจลึก ๆ เข้าไว้ค่ะ
- ออกไปรับอากาศบริสุทธิ์ในสถานที่ที่มีอากาศถ่ายเทดี ไม่แออัดไปด้วยผู้คน ยิ่งหากเป็นพื้นที่ที่มีสีเขียวจากต้นไม้ สีฟ้าจากท้องฟ้า และแสงแดดอ่อน ๆ ก็จะช่วยให้ร่างกายตื่นตัวได้เป็นอย่างดีเชียวล่ะ
- ออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อกระตุ้นความตื่นตัวและช่วยให้ร่างกายรู้สึกกระปรี้กระเปร่า
- กินอาหารที่มีประโยชน์ ครบ 5 หมู่ และพยายามเลี่ยงอาหารประเภทแป้งและน้ำตาล ที่อาจทำให้ง่วงได้หากกินมากเกินไป
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ โดยพยายามนอนอย่างน้อย 6-7 ชั่วโมงต่อวัน
อย่างไรก็ดีไม่อยากให้ทุกคนตื่นตูมว่าอาการหาวบ่อยที่เป็นอยู่อาจเพราะป่วยสักโรคใน 10 โรคที่กล่าวมา เพราะอย่างที่บอกว่า นอกจากหาวบ่อยแล้วยังต้องสังเกตอาการอื่นๆ ร่วมด้วย หรือถ้าจะให้ชัวร์ที่สุดคือต้องได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์โดยละเอียด ดังนั้นหากสงสัยอาการหาวบ่อยของตัวเองก็ควรปรึกษาแพทย์
ที่มา
ติดตามอ่านเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพได้ที่ http-sniffer.com
สนับสนุนโดย ufabet369
Economy
-
น้ำลดตอผุด vs Bank run 4.0
น้ำลดตอผุด vs Bank run 4.0
ดร.ฐิติมา ชูเชิด Economic Intelligence Center (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์
หลายคนมองว่าเหตุการณ์แบงก์หลายแห่งในสหรัฐฯ ล้มในช่วงปลายวัฏจักรดอกเบี้ยขาขึ้นรอบนี้ สะท้อนว่านโยบายการเงินสหรัฐฯตึงตัวรุนแรงเริ่มมีผลข้างเคียงต่อเสถียรภาพระบบการเงินของสหรัฐฯเข้าแล้ว ลักษณะคล้ายน้ำลด (สภาพคล่องเหือดลง ภาวะการเงินตึงตัวขึ้น) เริ่มเห็นตอผุด (ปัญหาสะสมในระบบการเงินเริ่มโผล่)
อาการน้ำลดตอผุดนี้ เห็นได้จากกลยุทธ์การบริหารสินทรัพย์และหนี้สินของบางธนาคารในสหรัฐฯที่ไม่ได้คำนึงถึงความเสี่ยงรอบด้าน ท่ามกลางนโยบายการเงินตึงตัวแรงและเร็วเป็นประวัติการณ์ จนเกิดผลขาดทุนจากความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยและสภาพคล่อง นอกจากนี้ อีกปัจจัยสำคัญคือ “เทคโนโลยีดิจิทัล” ที่เป็นตัวการเร่งให้ตื่นตระหนกแห่ถอนเงินของผู้ฝากเงิน (bank run) เกิดขึ้นปุบปับอย่างที่ไม่มีใครคาดคิด หลังได้รับรู้ผลประกอบการของธนาคารที่ออกมาดูไม่ค่อยดีนัก ทำให้ปัญหาแบงก์ล้มเกิดขึ้นในระยะเวลาสั้นขึ้นมากเทียบกับอดีต
ปัญหาการบริหารความเสี่ยงผิดพลาดในภาวะดอกเบี้ยขาขึ้นผสมโรงกับ Bank run ยุค 4.0
ทำให้ระบบธนาคารอาจเผชิญความเปราะบางได้ง่ายขึ้นมาก โดยเฉพาะสถานการณ์ที่
1) ผลประกอบการแบงก์เริ่มส่อเค้าลางปัญหา เช่น บริหารความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยของธนาคารผิดพลาด โดยบริหารสินทรัพย์ที่ให้อัตราผลตอบแทนคงที่ในสัดส่วนสูง ไม่สมดุลกับสัดส่วนหนี้สินที่จ่ายดอกเบี้ยลอยตัวตามอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น เกิดความเสี่ยงสภาพคล่องตามมาได้
2) การสื่อสารข่าวลบของผลประกอบการผ่านสื่อโซเชียลแพร่สะพัดเป็นวงกว้างอย่างรวดเร็ว
3) ผู้ฝากเงินในยุคดิจิทัลขาดความเชื่อมั่นโยกเงินฝากออกจากบัญชีในอัตราเร่งอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เพราะสามารถทำได้ตลอดเวลา ผ่านโมบายแอปพลิเคชัน
4) แบงก์ที่มีปัญหาและมีสัดส่วนเงินฝากที่ไม่ได้รับการค้ำประกัน (unsecured deposit) สูง ยิ่งมีโอกาสเกิด digital bank run มาก
กลไกการรับประกันเงินฝากจึงเป็นเครื่องมือภาครัฐที่สำคัญมากในสถานการณ์เช่นนี้เพื่อป้องกัน bank run ในกรณีของสหรัฐฯ กลไกประกันเงินฝากของ Federal Deposit Insurance Corporation (FDIC) ช่วยกระแส bank run 4.0 ได้ระดับหนึ่ง หลังดำเนินการเป็นกรณีพิเศษอุ้มผู้ฝากเงินทุกรายของ Silicon Valley Bank และ Signature Bank ที่ล้มไป ไม่ว่าจะมีเงินฝากต่ำกว่าเกณฑ์ 250,000 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบัญชีหรือไม่ เพื่อไม่ให้ปัญหาขยายวงจนกลายเป็นความเสี่ยงเชิงระบบ (systematic risk)
FDIC ออกรายงานทบทวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยระบุว่า การแห่ถอนเงินฝากในอัตราเร่งเช่นที่เกิดขึ้น สะท้อนว่าเกณฑ์การกำกับดูแล ตรวจสอบ และประเมินการบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่องของระบบธนาคารต้องปรับเปลี่ยนให้ทันยุคสมัย นอกจากนี้ FDIC จำเป็นต้องปฏิรูปความครอบคลุมของการประกันเงินฝาก พร้อมออกนโยบายและเครื่องมือเอื้อให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเสนอแนวทางปฏิรูประบบ เช่น Targeted coverage ขยายความครอบคลุมการรับประกันเงินฝากให้แตกต่างกันได้ บัญชีเงินฝากของธุรกิจเพื่อจ่ายชำระ (non-interest checking account) ควรได้รับการคุ้มครองวงเงินสูงกว่า
เหตุการณ์ตึงเครียดในระบบธนาคารของสหรัฐฯ ครั้งนี้สะท้อนว่า ไม่ว่าธนาคารจะใหญ่หรือเล็ก หากปล่อยให้ล้มโดยผู้ฝากเงินไม่ได้รับการช่วยเหลือเพียงพอทันการณ์ อาจทำให้เกิดปัญหาเสถียรภาพเชิงระบบ เพราะมีความเชื่อมโยงกันในระบบการเงินซับซ้อน ภาครัฐจึงไม่อาจปล่อยแบงก์ล้มง่ายเช่นในอดีตแล้ว การอุ้มแบงก์แก้ปัญหา bank run ดูจะกำลังเปลี่ยนโฉมจาก too big to fail เป็น too much systemic risk to fail เช่นที่เกิดขึ้นค่ะ.
ขอบคุณรูปภาพจาก : thairath.co.th
ขอบคุณแหล่งที่มา : thairath.co.th
สามารถอัพเดตข่าวสารเรื่องราวต่างๆได้ที่ : http-sniffer.com