โพสต์รูปลูก

โพสต์รูปลูก ลงในโซเชียล สิ่งที่พ่อแม่ทำเป็นประจำเพราะอดไม่ได้ที่จะแชร์ความน่ารักและพัฒนาการของลูกๆ ตลอดช่วงเวลา โดยไม่ทันนึกถึงผลลัพธ์ที่ตามมา ในปัจจุบันได้มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองเด็กที่ผู้ปกครองต้องตระหนัก ก่อนจะโพสต์รูปลูกควรจะโพสต์อย่างไรไม่ให้เป็นการละเมิดต่อสิทธิของเด็ก และไม่ให้เด็กถูกล้อเลียนภายหลัง ในบทความนี้จะมาพูดถึงเรื่องของการโพสต์รูปลูกอย่างไรให้ปลอดภัย สิ่งที่ควรทำ สิ่งที่ไม่ควรทำ รวมถึงกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองเด็ก

โพสต์รูปลูก

โพสต์รูปลูก อย่างไรให้ปลอดภัย

เรื่องการโพสต์รูปลูกหรือเรื่องราวของลูกบนโซเชียลที่เป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์กัน นับเป็นเรื่องดีที่มีตัวอย่างของพ่อแม่ที่ตระหนักและใส่ใจต่อเรื่องสิทธิของเด็ก และทำหน้าที่ปกป้องสิทธิของลูกตนอย่างเต็มที่ แม้พ่อแม่จะเป็นผู้ให้กำเนิดและเป็นผู้ดูแลเด็ก แต่ใช่ว่าพ่อแม่จะมีสิทธิทำทุกอย่างเกี่ยวกับลูกของตนเอง เพราะเด็กๆ มีสิทธิเป็นของตนเอง มีสิทธิส่วนบุคคล ที่มีกฎหมายรับรองและปกป้องคุ้มครองเช่นเดียวกับผู้ใหญ่

ดังนั้นการที่พ่อแม่จะทำสิ่งใดที่เกี่ยวข้องกับลูกหรือเด็กในความดูแล ควรได้รับความยินยอม ได้รับการอนุญาตหรือความยินยอมจากเด็กด้วย หรือให้เด็กมีส่วนร่วมในการตัดสินใจกระทำนั้นๆ ด้วยตนเอง และพ่อแม่ควรคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดที่จะเกิดขึ้นกับเด็กเป็นสำคัญ กรณีการโพสต์รูปลูกหรือเรื่องราวของลูกลงบนสื่อออนไลน์ โซเชียลมีเดียก็เช่นเดียวกัน

แม้การ Sharenting ของผู้ปกครองอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อลูกหลาน แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าพ่อแม่ผู้ปกครองเกือบทุกคนต่างต้องการบันทึกความทรงจำเก็บไว้ในที่ที่ย้อนกลับมาดูความน่ารักของลูกในวันข้างหน้าได้ เพียงแต่เมื่อวิธีการเก็บภาพถ่ายจากการอัดรูปเก็บเป็นอัลบั้มภาพในอดีต กลายเป็นการเก็บข้อมูลแบบดิจิทัลบนโซเชียลมีเดีย ก็ทำให้สิ่งที่ควรเป็นเรื่องส่วนตัวไม่เป็นส่วนตัวอย่างเดิมอีกต่อไป

การโพสต์รูปลูกและข้อมูลโดยไม่ละเมิดต่อสิทธิและความเป็นส่วนตัวของเด็ก จึงเป็นเรื่องที่พ่อแม่ผู้ปกครองควรศึกษาและปฏิบัติตาม เพื่อให้เกิดพื้นที่ตรงกลางของทั้งสองฝ่าย

สิ่งที่ควรทำเมื่อโพสต์รูปลูก

การโพสต์รูปลูกบนโลกออนไลน์ตามคำแนะนำจาก มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก แบ่งออกเป็น สิ่งที่ควรทำ (DO) และสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง (Don’t) ดังนี้

  • ตั้งสติ คิดก่อนโพสต์ อย่าลืมว่าสิ่งที่โพสต์จะเป็น Digital Footprint แม้จะลบไปแล้วก็สามารถค้นหาได้เสมอ
  • ขออนุญาตและความยินยอมจากเด็กก่อนทุกครั้ง แม้จะเป็นเรื่องราวดีๆ ก็ควรถามความรู้สึกก่อนเสมอ หากเด็กไม่ยินยอมก็ไม่ควรโพสต์
  • เปลี่ยนมุมมองใหม่ในการถ่ายภาพ เช่น ภาพถ่ายจากมุมที่ไม่เห็นหน้า ไม่ต้องลงรูปหน้าตรงๆ
  • ใช้ภาพกราฟิกหรือการ์ตูนแทนรูปหน้าจริง
  • ตั้งค่าโพสต์เป็นส่วนตัว หรือเฉพาะเพื่อนสนิทเท่านั้นที่จะเห็นข้อมูลหรือภาพได้
  • ลดการเช็กอินสถานที่ต่างๆ เพื่อป้องกันมิจฉาชีพตามติด

สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงเมื่อโพสต์รูปลูก

  • หลีกเลี่ยงการโพสต์รูปลูกหน้าตรงๆ หรือรูปที่เห็นใบหน้าชัดเจนของเด็ก
  • ไม่เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับตัวเด็ก
  • ไม่โพสต์รูปลูกที่ทำให้รู้สึกแย่ เช่น ภาพร้องไห้ หรือภาพท่าทางตลก
  • ไม่โพสต์รูปลูกขณะอาบน้ำหรือไม่สวมเสื้อผ้า
  • หลีกเลี่ยงโพสต์รูปลูกที่มีรูปเด็กคนอื่นติดอยู่ในภาพด้วย เพื่อไม่ละเมิดต่อสิทธิเด็กคนอื่นด้วยเช่นกัน

ข้อต้องห้ามก่อนโพสต์รูปลูกในโซเชียล

  • กฎข้อ 1 ห้ามโพสต์รูปเปลือยของลูก

เนื้อตัวจ้ำม่ำของเด็กๆ อาจดูน่ารักสำหรับคนทั่วไป แต่เป็นอาหารตาชั้นดีสำหรับพวกวิตถารที่มีอารมณ์ทางเพศกับเด็กหรือ “Pedophile” ถึงจะดูน่าเหลือเชื่อ แต่ข่าวการจับกุมคนที่มีภาพอนาจารเด็กในครอบครองตามหน้าหนังสือพิมพ์ก็มีให้เห็นถี่ขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นถือคติอย่าโพสต์อย่าแชร์ไว้ดีที่สุด

  • กฎข้อ 2 ห้ามเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว

การโพสต์รูปลูกหรือแม้กระทั่ง บัตรนักเรียนลูก, ใบคะแนนเทอมล่าสุดที่มีชื่อ นามสกุล ชั้นเรียน และโรงเรียนติดหรา, ภาพลูกขี่จักรยานเล่นในหมู่บ้านพร้อมเปิด location เสร็จสรรพ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้จำไว้เลยว่าห้าม

ชื่อ นามสกุล วันเดือนปีเกิด ชั้นเรียน โรงเรียน และที่อยู่ ถือเป็นข้อมูลส่วนตัวที่ไม่ควรให้คนนอกรู้เด็ดขาด เพราะผู้ไม่หวังดีสามารถปะติดปะต่อข้อมูลเพื่อใช้เข้าถึงตัวเด็กเอาได้ง่ายๆ

ลองนึกภาพคนแปลกหน้าที่รู้รูปพรรณสัณฐานและข้อมูลของเด็กแบบละเอียดยิบมาถามหาน้องที่โรงเรียน โดยอ้างว่าผู้ปกครองติดธุระด่วนเลยให้รับกลับบ้านแทน และถ้าคุณครูไม่เอะใจโทรเช็คกับคุณจะเกิดอะไรขึ้น

  • กฎข้อ 3 ห้ามเปิด location หรือโพสต์รูปแบบทันที

การโพสต์รูปลูกขณะทำกิจกรรมในสถานที่นั้นๆ แล้วโพสต์ลง social media ชนิดนาทีต่อนาทีพร้อมเปิด location เป็นเรื่องที่เสี่ยงมาก เพราะทำให้คนนอกรู้ทันทีว่าเวลานี้ลูกของคุณอยู่ที่ไหน แต่งตัวยังไง และกำลังทำอะไรอยู่ พ่อแม่อาจรอให้เด็กทำกิจกรรมเสร็จหรือเดินทางกลับถึงบ้านก่อนแล้วค่อยโพสต์ หรือเก็บรูปไว้ลงวันหลังแทน

  • กฎข้อ 4 ห้ามโพสต์รูปลูกที่อาจทำให้คนเข้าใจผิด

บางครั้งพ่อแม่อาจนึกครึ้มอกครึ้มใจให้ลูกถ่ายรูปตลกๆ เช่น ให้ทำท่ากำลังดื่มเบียร์ หรือจับลูกมานั่งหลังพวงมาลัยตอนรถติด แต่ในสังคมที่คนชอบเสพเรื่อง “ดราม่า” แบบทุกวันนี้ อาจมีคนเอารูปของคุณไปใช้แล้วแต่งเรื่องขึ้นมาเองด้วยวัตถุประสงค์ต่างๆ พอถึงตอนนั้นลูกของคุณก็โดนเข้าใจผิดไปเรียบร้อย แล้วคุณจะตามไปอธิบายกับคนทั้งโลกไม่ได้

  • กฎข้อ 5 ห้ามเผยแพร่ฉายาหรือข้อมูลที่ทำให้ลูกอับอาย

ในโลกตะวันตกที่การกลั่นแกล้งในโรงเรียนรุนแรงถึงขั้นมีเด็กฆ่าตัวตาย เริ่มมีการรณรงค์ให้ผู้ปกครองฉุกคิดถึงอันตรายจากการเผยแพร่ข้อมูลที่อาจทำให้เด็กๆอับอายกันแล้ว ในเมืองไทยเราการกลั่นแกล้งในโรงเรียนอาจยังไม่น่ากังวลเท่าไหร่ แต่ป้องกันไว้ก่อนดีกว่า

  • กฎข้อ 6 ห้ามโพสต์รูปที่ลูกอาจไม่อยากให้คนอื่นเห็นเมื่อโตขึ้น

ข้อมูลทุกอย่างเกี่ยวกับลูกที่คุณโพสต์ไป ถือเป็นการสร้าง “ตัวตน” (identity) ของเค้าในโลกออนไลน์ ไม่ว่าโตขึ้นเค้าจะชอบใจหรือไม่ก็ตาม (อยากรู้ว่าตัวตนในโลกออนไลน์ของคุณเป็นยังไง ลอง google ชื่อหรือ username ของคุณดูสิคะ)

ดังนั้น ถือคติเอาใจเขามาใส่ใจเรา ภาพสมัยเด็กแบบไหนที่เราไม่อยากให้คนอื่นเห็น เช่น รูปนั่งกระโถน รูปนอนโป๊ในอ่างอาบน้ำ ฯลฯ ก็เก็บไว้ดูกันเองในครอบครัวดีกว่า

โพสต์รูปลูก

กฎหมายคุ้มครองผู้ปกครองต้องทำตาม

ปัจจุบันมีหลายประเทศทั่วโลกที่หันมาให้ความสนใจเกี่ยวกับประเด็นการ Sharenting และให้ความสำคัญกับสิทธิที่เด็กควรได้รับมากขึ้น

ยกตัวอย่าง ‘ฝรั่งเศส’ ที่มีการระบุโทษทางกฎหมายให้บุตรสามารถฟ้องผู้ปกครองที่ละเมิดความเป็นส่วนตัวโดยไม่ได้รับความยินยอมได้ ‘สหภาพยุโรปและสหราชอาณาจักร’ มีการใช้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล General Data Protection Regulation (GDPR) เพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิเด็กบนโลกออนไลน์ หรือ ‘สหรัฐอเมริกา’ ที่มี Children’s Online Privacy Protection Act (COPPA) ช่วยปกป้องข้อมูลที่อาจเป็นอันตรายต่อเด็ก

ประเทศไทยเองก็มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองเด็กอยู่หลายข้อเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น ‘อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ’ ที่ให้ความคุ้มครองเด็กจากการถูกละเมิดชื่อเสียง ความเป็นส่วนตัว หรือการดูหมิ่น ‘พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546’ มาตรา 27 ที่ห้ามไม่ให้โฆษณาหรือเผยแพร่สื่อที่เจตนาให้เกิดความเสียหายต่อตัวเด็กหรือผู้ปกครอง รวมไปถึง ‘พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA’ ว่าด้วยมาตรา 4(1) ที่หากรูปภาพที่เผยแพร่สร้างความเดือดร้อน ความเข้าใจผิด หรือพาดพิงผู้อยู่ในภาพหรือผู้อื่น อาจถูกฟ้องร้องได้

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ไทยจะมีกฎหมายบังคับใช้เกี่ยวกับสิทธิเด็กอยู่บ้าง แต่หากเทียบกับประเทศอื่นๆ ก็ยังคงอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่ได้มีการลงโทษหรือบังคับใช้อย่างจริงจังเท่าไหร่นัก

หลายหน่วยงานและประชาชนบางส่วนจึงต้องออกมารณรงค์ขอความร่วมมือจากผู้ปกครองในการคิดก่อนโพสต์ รวมถึงเสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิของเด็ก และข้ออันตรายจากการโพสต์หรือแชร์รูปของเด็กลงในโซเชียลมีเดียกันไปก่อน จนกว่าจะถึงวันที่กฎหมายและความเข้าใจเรื่องสิทธิความเป็นส่วนตัวในไทยเข้มแข็งกว่านี้

 

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับเด็ก

ที่มาของบทความ

ติดตามอ่านเรื่องเกี่ยวกับเด็กได้ที่  http-sniffer.com
สนับสนุนโดย  ufabet369