โรคอ้วน

เมื่อความอ้วน มันดันมาพร้อมกับ โรคระบาด เราไม่ได้อ้วน อยู่คนเดียว

จะกล่าวย้อนไปถึงช่วง ที่เกิดโรคระบาด ผลกระทบที่หลายๆ คนได้รับ ก็คงหนีไม่พ้นความอ้วน และไม่ต้องแปลกใจเลยว่า ทำไมไปที่ไหนถึงมีแต่คำถามว่า ช่วงนี้อ้วนขึ้นหรือเปล่า หรือแม้แต่ตัวเองยังบ่อนเอง ว่าหมู่นี้อ้วนขึ้น พร้อมกับน้ำหนักที่บนตารางช่างที่เพิ่มขึ้น และอาการทั้งกางเกงที่คับขึ้น โดนคนรอบตัวบ่นทุกวัน

และหลังจากวิกฤตโรคระบาดโควิด ได้เริ่มเบาลง ในหลายๆ ประเทศกลับเริ่มมีการรายงานปัญหา ด้านสุขภาพ ตามมาจำนวณมาก เกี่ยวกับดารที่ประชาชน มีภาวะอ้วนขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และมีรายงานเป็นตัวเลขชัดเจน ที่ระบุว่า การอ้วนขึ้นจากการเจอโรคระบาด ส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์ คนอ้วนขึ้นพร้อมกันทั่วโลก จนเป้นประเด็นที่เมืองใหญ่ๆ หลายๆ เมืองต้องรีบจัดการ

ที่อังกฤษมีรายงานว่า 40% หรือเกือบครึ่งของประชากรมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นราว 3 กิโลกรัม ในขณะที่รายงานเมื่อช่วงกลางปีที่ผ่านมาของสมาคมจิตแพทย์อเมริกัน (APA) รายงานตัวเลขใกล้เคียงกับอังกฤษ คือ พบว่าประชากรผู้ใหญ่ราว 42% ที่มีปัญหาน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น แต่ทางอเมริกาค่อนข้างขึ้นหนักกว่าหน่อย

คือน้ำหนักพุ่งเฉลี่ย 29 ปอนด์ หรือราว 13 กิโลกรัม ซึ่งถือว่าค่อนข้างเยอะพอสมควร แน่นอนว่าภาวะอ้วนอาจสัมพันธ์กับความรุนแรง ของอาการหากติดโควิด และอาจนำไปสู่โรคเรื้อรังอื่นๆ โดยนอกจากความอ้วนในผู้ใหญ่แล้ว ในเด็กเองก็มีรายงานภาวะอ้วน อันเกิดจากการเรียนออนไลน์และการเข้าไม่ถึงอาหารสุขภาพด้วยเช่นกัน

ก่อนอื่นต้องบอกว่า ความอ้วนอาจเป็นเรื่องน่ากังวล แต่เวลาที่เรานึกถึงการ ‘ลดความอ้วน’ เราอาจจะมีความรู้สึกรุนแรงกับตัวเอง มีความพยายามในการลดเพราะลึกๆ คิดว่าเรานี่มันไม่ได้เรื่อง แต่ในจุดนี้ ท่ามกลางการระบาดของโลก และภาวะอ้วนนั้น ถือเป็นผลกระทบที่เราเองบอบช้ำ จากโลกและโรคระบาด

ดังนั้น เราอาจจะคำนึงเรื่องความอ้วน แต่ก็เป็นช่วงเวลาไม่ต้องโหดร้ายกับตัวเองนัก ค่อยเป็นค่อยไป ดูแลตัวเอง ดูแลสุขภาพเพื่อรอวันโรคซาและกลับออกไปใช้ชีวิตอีกครั้ง

โรคอ้วน

ติดอยู่กับบ้าน ความเครียด และกางเกงหลวมๆ สาเหตุเบื้องต้นของรอบพุง

จริงๆ เรื่องความอ้วน การอ้วนขึ้นเป็นเรื่องที่เราพอรู้แหละเนอะ ทำงานอยู่บ้าน ออกไปไหนไม่ได้ นั่งๆ นอนๆ ไปตู้เย็นบ้าง หน้าจอบ้าง แต่อันที่จริงนอกจากข้อจำกัดทางกายภาพแล้ว ภาวะล็อกดาวน์ยังส่งผลต่ออารมณ์ ต่อความเครียด และความเครียดก็ทำให้พฤติกรรมการกินของเราเปลี่ยนไป ของที่ดีต่อใจก็มักไม่ค่อยดีกับสุขภาพของเราเท่าไหร่

ทั้งมันทอด ขนมหวาน โดนัท ชาไข่มุก การบริโภคน้ำตาลเป็นกระบวนการพื้นฐานที่ร่างกายใช้รับมือกับความเครียดอย่างรวดเร็ว ในรายงานฉบับละเอียดของมหาวิทยาลัย King’s College นอกจากจะพบว่าคนเกือบครึ่ง (48%) ของกลุ่มตัวอย่างกว่าสองพันคนรายงานว่าตัวเองน้ำหนักขึ้นในช่วงล็อกดาวน์

โดยกลุ่มตัวอย่างระบุว่า พวกเขารู้สึกกังวล และรู้สึกดาวน์มากกว่าปกติ 29% รายงานว่าตัวเองดื่มแอลกอฮอล์มากขึ้น ประเด็นหนึ่งของโควิดคือ ทำให้เราเห็นปัญหาที่เคยแฝงอยู่ชัดเจนมากขึ้น ความอ้วนเองก็สัมพันธ์กับประเด็นเรื่องสุขภาพ และในอาการอ้วนขึ้นช่วงโควิดนั้น ในรายงานของสมาคมจิตแพทย์อเมริกัน

ระบุว่า กลุ่มคนที่ค่อนข้างเปราะบาง หรือเป็นกลุ่มชายขอบของสังคม เช่น กลุ่มคนผิวดำ กลุ่มลาตินอเมริกัน และกลุ่มที่มากจากชุมชนผู้มีรายได้น้อยมีแนวโน้มอ้วนขึ้นมากกว่า สาเหตุคือคนกลุ่มนี้ได้รับผลกระทบรุนแรงกว่า มีความเครียดสูงกว่า เข้าถึงอาหารที่ดียากกว่า มีแนวโน้มจะได้รับอาหารที่ไม่ดีกับสุขภาพ เช่น junk food

ในขณะที่อาหารสุขภาพเช่นผักผลไม้สดนั้นหายากและมีราคาแพง คนกลุ่มนี้มักเป็นบุคลากรที่ยังต้องทำงานอยู่ ต้องทำงานมากขึ้น รวมทั้งชุมชนที่อาศัยนั้นกลับมีพื้นที่สีเขียวและสวนสาธารณะน้อยกว่า นอกจากการอยู่บ้าน กินอาหารแก้เครียดแล้ว การอยู่บ้านเป็นหลักทำให้เรามักจะใส่เสื้อผ้าหลวมๆ กางเกงเอวยืด

รวมถึงการแต่งตัวออกไปนอกบ้านที่น้อยลง พอแต่งอีกทีก็ใส่ไม่ได้แล้ว ถึงจุดนั้นหลายคนก็ปล่อยเลยตามเลย ใส่กางเกงยืดออกจากบ้านเป็นหลักไปซะเลย

ใจดีกับตัวเอง ค่อยเป็นค่อยไป และมองไปสู่อนาคต

หมู่นี้อ้วนขึ้นนะ เป็นคำที่แบบร้าวราน ส่วนหนึ่งคือความอ้วนมันมีรอยแผลและอคติบางอย่างที่แม้แต่เราเองก็รับความรอยแผลนั้นเอาไว้ เวลาใครทักเราว่าอ้วน หรือเรารู้สึกว่าเราอ้วนขึ้น นัยนึงมักมากับนัยว่าทำไมแกปล่อยตัว ไม่ดูแลตัวเอง ไปทำอะไรมา เอาแต่กิน ทำไมไม่ออกกำลังกาย ในความรู้สึกผิดนั้น เวลาที่เราอยากจจะจัดการกับความอ้วน

จึงมักมีลักษณะเหมือนกับ การกลับไปแก้ไขข้อผิดพลาด คือความอ่อนยวบของชีวิต รวมถึงภาพของความผอม ความสุขภาพที่รายล้อมเราผ่านสื่อ คนผอมเป๊ะเขากินน้ำแร่ กินอะไรนิดๆ หน่อยๆ กินสลัดผัก อกไก่ เขาไม่กินโดนัท ไก่ทอด ชานมกัน เขามีวินัย ดังนั้นการลดน้ำหนักหลายครั้งจึงมีจุดมุ่งหมายที่ค่อนข้างเป็นเชิงลบ ต้องกินให้น้อยลง ต้องวิ่งให้เยอะขึ้น

ซึ่งผลที่ได้มักจะไปทางตรงกันข้าม ยิ่งเฆี่ยนตีตัวเองก็ยิ่งแย่ ยิ่งไดเอตยิ่งอยาก ยิ่งฝืนตัวเองออกกำลังยิ่งทรมาน หรืออาจจะทำให้ร่างกายบาดเจ็บ ดังนั้นในจุดนี้การปรับมุมมองต่อร่างกาย ต่อสุขภาพ จึงเป็นสิ่งที่ผู้เชี่ยวชาญแนะนำ โดยเฉพาะในช่วงโควิดที่ต้องโอบกอดตัวเองก่อนว่า ชีวิตเรามันเปลี่ยนหนักมาก

เราเจอความเครียด เราอาจจะไม่ต้องไปโฟกัสเรื่องตัวเลขบนตาชั่ง แต่กลับมาดูว่า โอเค มันล็อกดาวน์ พฤติกรรมเราเปลี่ยน เรากำลังเครียดนะ และเราก็ค่อยๆ ปรับวิธีการใช้ชีวิตเพื่อไปสู่สุขภาพที่ดีขึ้น เตรียมร่างกายไว้ในวันที่ชีวิตปกติกลับมา เราจะต้องกลับไปเฉิดฉายอีกครั้ง ประเด็นเรื่องสุขภาพ ในแง่การควบคุมน้ำหนักมีหลักไม่กี่ข้อ

การกินและออกกำลังกาย นักโภชนาการเช่น Priya Tew แนะนำผ่าน BBC ว่าการปรับมุมมองเชิงลบเช่นการพยายามอดอาหารบางประเภท เช่นการตั้งมั่นว่าจะไม่กินขนมเค้ก อาจจะทำให้เรายิ่งอยากกินเค้ก เราอาจอดเค้กได้แต่สุดท้ายความอยาก ก็ทำให้เรากลับไปกินอย่างอื่นแทนเค้กอยู่ดี ดังนั้นจากการอด

จึงแนะนำให้มองในเรื่องการเพิ่ม เช่นเราอาจจะบอกว่าเราอยากสุขภาพดีขึ้น เราจะเพิ่มผักลงในมื้ออาหาร คัดเลือกผลไม้ที่ดีที่น้ำตาลน้อยเพิ่มขึ้น กินคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนและโปรตีนเยอะขึ้น ในที่สุดเราก็จะกินของอ้วนๆ น้อยลงโดยปริยายนั่นเอง ส่วนการออกกำลังกาย เราอาจจะแค่ปรับตารางชีวิต

ผู้เชี่ยวชาญบอกว่าเราอาจจะใช้เกณฑ์พื้นๆ เช่นการนับก้าวว่าเดินให้ถึงหมื่นก้าว อาจจะปรับเวลาออกไปเดินออกกำลังกายรับแสงแดดเช้าเย็นเบาๆ เน้นทำงานบ้านหรือกิจกรรมที่ได้เหงื่อบ้างทีละเล็กละน้อย

เด็กๆ กับปัญหาความอ้วน และเมืองที่มองเห็นก่อน

ในขณะที่บ้านเรายังคงมีปัญหาว่าจะหยุดเรียนไหม และเด็กๆ ยังไม่มีวี่แววจะได้กลับไปโรงเรียน ในหลายประเทศที่รายงานปัญหาเรื่องภาวะอ้วนก็มีรายงานและข้อกังวลเพิ่มเติมว่า ภาวะอ้วนนั้นกำลังเกิดขึ้นกับเด็กๆ ด้วย ที่อังกฤษมีความกังวลว่าภาวะอ้วนในเด็กกำลังกลายเป็นวิกฤติ และอาจทำให้เกิดผลทางสุขภาพและทางสังคมตามมา

ในขณะที่ตัวเลขจากการสำรวจเคสในเครือข่ายโรงพยาบาลเด็กของเมืองฟิลาเดลเฟียก็พบว่ามีตัวเลขกลุ่มภาวะโรคอ้วนในเด็กเพิ่มขึ้นจาก 13.7% เป็น 15.4% และพบว่ากลุ่มลาตินอเมริกันและคนผิวดำและกลุ่มผู้มีรายได้น้อย รวมถึงกลุ่มเปราะบางมีแนวโน้มอ้วนขึ้นมากที่สุด แน่นอนว่าการหยุดเรียน

หรือการเรียนออนไลน์ ส่งผลกับสุขภาพทั้งกายและใจของเด็ก เด็กๆ เสียโอกาสในการทำกิจกรรมทางร่างกายอย่างที่เคยทำในโรงเรียน ไม่ได้ออกไปเล่นอย่างที่เคย และรวมถึงความเครียดที่เด็กๆ เองก็เผชิญกับภาวะเครียดไม่ต่างกับผู้ใหญ่ และบางครั้งรุนแรงกว่าเพราะหลายครั้งเราอาจมองข้ามเครื่องความเครียดในเด็กไป

นอกจากเรื่องกิจกรรมแล้ว ในหลายประเทศ โรงเรียนมักเป็นพื้นที่สำคัญที่เด็กๆ จะได้รับการส่งเสริมด้านสุขภาพ หนึ่งในนั้นคือเด็กๆ จะได้รับอาหารที่ดีกับสุขภาพที่โรงเรียน ในทางกลับกันเมื่อเด็กๆ ต้องอยู่บ้าน ผู้ปกครองโดยเฉพาะในกลุ่มที่มีรายได้น้อย หรือบางครอบครัวผู้ปกครองไม่สามารถทำงานที่บ้านได้ ทำให้เด็กๆ ไม่ได้รับอาหารที่ดีต่อสุขภาพ

และนำมาซึ่งภาวะอ้วนในท้ายที่สุด ในหลายเมืองใหญ่เมื่อมีการล็อกดาวน์ เมืองเหล่านั้นก็มองเห็นว่า การล็อกดาวน์ส่งผลในประเด็นเล็กๆ เช่นการเข้าถึงอาหารที่ดีของเด็กๆ และเมืองก็มีหน้าที่อุดรอยรั่วนั้นๆ ที่ยุโรปมีโครงการร่วม ซึ่งผู้เข้าร่วมเป็นเมืองใหญ่ทั่วโลกกว่า 200 เมืองเข้าร่วมในข้อตกลงชื่อ Milan Urban Food Policy Pact

ขอบคุณแหล่งที่มา : thematter.co
สามารถอัพเดตข่าวสารเรื่องราวต่างๆได้ที่ : http-sniffer.com