สร้าง บ้านไม้ไผ่ ด้วย ต้นไผ่ ซึ่งต้นไผ่เป็นพืชตระกูลหญ้า ลำต้น มีลักษณะเป็นปล้อง ๆ ภายในกลวง มีหลายหลายพันธุ์ โดยแต่ละพันธุ์ มีลักษณะต่างกันออกไป เช่น พื้นผิว ความหนาเนื้อไม้ ความยาวของลำตัน และอายุการเติบโต ไม้ไผ่ที่เหมาะกับการใช้งาน คือ ไม้ไผ่ที่มีอายุแก่จัด โดยไม้ไผ่ลำใหญ่ที่ทำโครงสร้าง จะใช้ได้ที่อายุ 4-7 ปี และไม้ไผ่ลำเล็ก จะใช้ได้ที่อายุ 2-3 ปี ขึ้นอยู่กับชนิด ถ้าไม้อ่อนเกินไป จะไม่แข็งแรง และถูกมอดกินเนื้อไม้ได้ และถ้าไม้แก่เกินไป เนื้อไม้จะเริ่มเหี่ยว ซึ่งไผ่แต่ละชนิด เมื่อโตเต็มที่ จะมีขนาดหน้าตัดต่างกันไป
ในการนำไปใช้งาน จึงมีการใช้ไม้ไผ่หลายชนิดผสมกันตามขนาดหน้าตัดที่ต้องการ ส่วนความยาวปล้อง ก็มีผลกับความแข็งแรง ถ้าปล้องสั้น และมีข้อถี่ จะยิ่งแข็งแรง แต่ถ้าจะนำไปผ่า หรือทำไม้สับฟาก ควรเลือกปล้องยาว และข้อน้อย จะทำงานง่ายกว่านั่นเอง
ข้อควรรู้ก่อนเลือกไม้ไผ่สร้างบ้าน
ไม้ไผ่นั้น ไม่ได้เหมาะกับการสร้างบ้าน อาคารทุกประเภท หากต้องการใช้ไม้ไผ่ ควรพิจารณาก่อนตัดสินใจก่อนเสมอ สำหรับใคร ที่ต้องการเลือกใช้ไม้ไผ่ ควรเริ่มจาก ความชอบ และเข้าใจธรรมชาติของวัสดุที่มีความอ่อน และแอ่นตัว มีการแตกได้ อาจเกิดเชื้อรา ซึ่งสามารถเช็ดออกได้ หรือถ้าอากาศแห้ง เชื้อราเหล่านั้น ก็จะหายไปเอง แต่ต้องมีการเปลี่ยน เมื่อถึงเวลา หากยังไม่แน่ใจเรื่องเหล่านี้ ควรเลือกใช้วัสดุประเภทอื่นแทน
ในปัจจุบันนั้น เรายังไม่มีวิศวกร ที่ชำนาญเรื่องไม้ไผ่ ผู้ออกแบบ จึงอาจใช้วิธีชั่งน้ำหนักไม้ไผ่ให้วิศวกร เพื่อให้สามารถคำนวณโครงสร้างได้ อีกทั้ง การขออนุญาตก่อสร้างอาคาร ที่ใช้ไม้ไผ่เป็นโครงสร้างหลัก ยังไม่สามารถทำได้ หากยังไม่พร้อม แนะนำให้ก่อสร้างโครงสร้างหลักด้วยคอนกรีต หรือเหล็กตามปกติ แล้วใช้ไม้ไผ่เป็นโครงสร้างรอง และส่วนตกแต่งแทนจะดีกว่า
ข้อดีของบ้านไม้ไผ่
มีราคาถูก มีต้นทุนในการก่อสร้างถูกกว่าบ้านไม้ อิฐ หรือคอนกรีตทั่วไป แต่มีข้อจำกัดอยู่ที่ ความแข็งแรง ทนทาน และปลอดภัย หากเลือกไม้ไผ่ ที่มีเนื้อแข็งหนา ก็สามารถต่ออายุการใช้งานของบ้านได้หลายสิบปีเลยทีเดียว
บ้านมีความปลอดโปร่ง ไม่ร้อน ไม้ไผ่เป็นวัสดุธรรมชาติ ช่วยดูดซับความร้อน ทำให้ภายในบ้านเย็น และอากาศถ่ายเทสะดวก
ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ได้ หลังจากสร้างบ้านเสร็จ ไม้ไผ่ที่หลงเหลืออยู่ สามารถนำมาทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ บันได รั่วบ้าน ได้
ดูแลรักษาไม่ยาก จึงสามารถปลูกไผ่ไว้สร้างบ้านเองได้ อาศัยระยะเวลาอย่างน้อยประมาณ 3 ปี จะเริ่มขึ้นหน่อกลายเป็นลำต้นที่แข็งแรง และยังนำหน่อของไผ่ ไปประกอบอาหารได้อีกด้วย
ความแข็งแรงของไม้ไผ่พอที่จะใช้สร้างบ้านได้หรือไม่
ไม้ไผ่เป็นวัสดุก่อสร้างที่มีความแข็งแรงสูงและทนทานต่อสภาพอากาศได้ดี การใช้ไม้ไผ่ในการสร้างบ้านจึงเป็นเรื่องที่เหมาะสมและมีความเป็นไปได้สูง
ประเภทของไม้ไผ่
– ไม้ไผ่มีด้วยกันหลากหลายชนิดมาก ฉะนั้นขอยกตัวอย่างเฉพาะไม้ไผ่ที่สามารถนำมาสร้างบ้านได้เท่านั้น
– ไผ่ข้าวหลาม โดยส่วนใหญ่มักจะใช้ส่วนของลำต้นไผ่ ในการสานเป็นฝาหรือเพดานบ้าน หรือสานเป็นเสื่อแทนพรม และทำเป็นกลอนหลังคาบ้าน
– ไผ่ป่า เป็นไม้ไผ่ที่มีการเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว มีประโยชน์ในการใช้งานค่อนข้างมาก โดยในส่วนของลำสามารถใช้ทำบันได สร้างผนังบ้าน ทำฟากปูพื้น รั้ว แพลูกบวบ หรือปลูกเป็นแนวกันลม
– ไผ่เป๊าะ นิยมนำมาทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ เช่น เก้าอี้ โต๊ะ แคร่ เครื่องจักรสาน รวมไปถึงแพลูกบวบ
– ไผ่หก เป็นไม้ไผ่ที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไปและนำมาใช้มากที่สุด ส่วนของเยื่อในกาบหุ้มลำ มักนำไปใช้เป็นมวนบุหรี่ รวมถึงสามารถใช้ประโยชน์ได้ทั่วไปเช่น ทำฟาก สานเสื่อ ทำเครื่องจักรสาน ทำบวบแพ หรือทำกระดาษ เป็นต้น
ข้อดีของการสร้างบ้านไม้ไผ่
– ราคาถูก บ้านไม้ไผ่มีต้นทุนในการก่อสร้างถูกกว่าบ้านไม้อิฐหรือคอนกรีตทั่วไป แต่มีข้อจำกัดอยู่ที่ความแข็งแรง ทนทาน และปลอดภัย อย่างไรก็ตามถ้าเลือกไม้ไผ่ที่มีเนื้อแข็งหนา ก็สามารถต่ออายุการใช้งานของบ้านได้หลายสิบปีเลยทีเดียว
– สำหรับราคาไผ่ ขึ้นอยู่กับความนิยมและชนิดของไผ่ จึงมีราคาแตกต่างกันไป แต่ชาวชนบทส่วนใหญ่มักปลูกและนำมาใช้งาน เพราะประโยชน์ที่หลากหลายทั้งใช้สร้างบ้าน และนำไปประกอบอาหารได้อีกด้วย
– บ้านปลอดโปร่ง ไม่ร้อน ไม้ไผ่เป็นวัสดุธรรมชาติ ช่วยดูดซับความร้อน ทำให้ภายในบ้านมีอากาศเย็นและถ่ายเท บางบ้านมีการนำไม้ไผ่มาสร้างเป็นรั่วเพื่อกันแดดนอกจากจะให้ความร่มรื่นยังสามารถป้องกันแสงแดดกระทบตัวบ้านได้อย่างดีเยี่ยม
– ทำเฟอร์นิเจอร์ หลังจากสร้างบ้านเสร็จ หากมีไม้ไผ่เหลือ ก็สามารถนำมาทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ ไม่ว่าจะเป็นโต๊ะ เก้าอี้ บันได รั่วบ้าน เป็นต้น
– ไผ่มีประโยชน์และใช้งานได้เยอะไม้ไผ่เป็นไม้ตระกูลหญ้าที่ไม่จำเป็นต้องดูแลรักษามากจึงสามารถปลูกไผ่ไว้สร้างบ้านเองได้ อาศัยระยะเวลาอย่างน้อยประมาณ 3 ปี จะเริ่มขึ้นหน่อกลายเป็นลำต้นที่แข็งแรงและยังนำหน่อไปประกอบอาหารได้อีกด้วย
ที่มา
ติดตามเรื่องราวดีๆได้ที่ http-sniffer.com